Latest Entries »

                                                                                                            กลยุทธ์การเเก้ปัญหา

 

                                                                                              ด้านความคิดรอบยอด

                                                         เมล็ด คือ ส่วนที่เจริญมาจากออวูล หลังจากปฏิสนธิแล้ว เมล็ดของพืชแต่ละชนิดมีรูปร่างและขนาดส่วนประกอบของเมล็ด

เปลือกหุ้มเมล็ด เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ดมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกจะหนา แข็งและเหนียว ช่วยป้องกันอันตรายจากแมลงและจุลินทรีย์

ใบเลี้ยง เป็นส่วนที่อยู่ติดกับต้นอ่อน ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีใบเลี้ยง 1 ใบ และเก็บสะสมอาหารไว้สำหรับเลี้ยงต้นอ่อน

ต้นอ่อน เป็นส่วนที่ติดอยู่กับใบเลี้ยง ส่วนนี้จะมีการพัฒนาการเป็นราก และต้นอ่อน

หน้าที่ของเมล็ด

       เมล็ดมีหน้าที่ในการแพร่พันธุ์พืช โดยอาศัยลม น้ำ คน และสัตว์พาไป หรือโดยการดีดกระเด็นไปเองต่างกัน

ผล    คือ ส่วนของรังไข่ที่เจริญเติบโตภายหลังจากการผสมพันธุ์แล้ว ผนังรังไข่ชั้นนอกสุด จะเจริญเป็นเปลือกของผล แต่ผลบางชนิดไม่ได้เจริญเติบโตมาจากรังไข่ แต่เจริญเติบโตมาจากฐานรองดอก เรียกว่า ผลเทียม เช่น ฝรั่ง

ส่วนประกอบของผลมี 3 ส่วน คือ เปลือก เนื้อ เมล็ด

– เปลือกชั้นนอกสุด ส่วนมากมักเรียบเหนียวและเป็นมัน
– เปลือกชั้นกลาง ในผลไม้บางชนิดจะบางมาก แต่บางชนิดก็มีเนื้อเยื่อที่หนามาก
– เปลือกชั้นในสุด ประกอบด้วยเซลล์ชั้นเดียวหรือหลายชั้นจนหนามาก บางครั้งก็เป็นเนื้อนุ่มใช้รับประทานได้

หน้าที่ของผล   ผลมีหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ด

ดอก    คือ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ ลักษณะดอกของพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันทั้งรูปร่าง ขนาด สี และกลิ่น

ชนิดของดอก

– ดอกเดี่ยว คือ ดอกที่ขึ้นมาจากก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น กุหลาบ บัว ชบา ทิวลิป เป็นต้น
– ดอกช่อ คือ ดอกหลายๆ ดอกที่ออกมาจากกิ่งเดียวกัน ถ้ารวมเป็นกระจุกแน่นมักเรียกว่า ดอกรวม เช่น ดอกเฟื่องฟ้า ดอกเข็ม เป็นต้น

หน้าที่ของดอก

หน้าที่สำคัญของดอก คือ ผสมพันธุ์ โดยมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เป็นตัวการในการผสมพันธุ์
เกสรตัวผู้ ประกอบด้วย ก้านชูอับละอองเรณู อับละอองเรณู ละอองเรณู
เกสรตัวเมีย ประกอบด้วย ยอดเกสรตัวเมีย รังไข่

                                                       ใบ    ส่วนประกอบของพืชที่มีสีเขียว ทำหน้าที่สร้างอาหาร โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชส่วนใหญ่มีใบที่แผ่เป็นแผ่นกว้าง มีสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ ใช้สำหรับในการสังเคราะห์ด้วยแสง (การสร้างอาหารของพืช)

– พืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีเส้นใบเรียบขนานกัน เช่น ไผ่ หญ้า มะพร้าว
– พืชใบเลี้ยงคู่ จะมีเส้นใบตรงกลาง และมีแขนงแตกออกมาเป็นร่างแห

หน้าที่ของใบ

– สังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
– หายใจ (respiration)
                                                – คายน้ำ (transpiration)

ตา  คือ ส่วนเล็กๆ ที่ยอดหรือซอกใบ และสามารถเจริญเป็นกิ่งหรือดอกได้

ส่วนประกอบของตา

– ตายอด คือ จะอยู่ส่วนปลายสุดของลำต้น
– ตาข้าง คือ จะอยู่ด้านข้างของลำต้นหรือที่ง่ามใบ

ชนิดของตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

                                                                   – ตาใบ คือ ส่วนของตาที่เจริญไปเป็นใบ
                                                                   – ตาดอก คือ ส่วนของตาที่เจริญไปเป็นดอก
                                                                   – ตารวม คือ ส่วนของตาที่เจริญไปเป็นทั้งใบและดอก

ลำต้น คือ ส่วนของพืชที่เจริญเติบโตขึ้นสู่อากาศ และทำหน้าที่หลักเป็นโครงสร้างค้ำจุนและลำเลียงสาร

ลักษณะของลำต้น

-ลำต้นเจริญเติบโตสู่อากาศ ต้านแรงดึงดูดโลก
-ลำต้นมีข้อ ปล้อง ตา
-ลำต้นมีคลอโรฟิลล์

 ส่วนประกอบของลำต้น

 – ปลายยอด เป็นบริเวณที่มีการเจริญเติบโต เป็นส่วนที่ทำให้ลำต้นขยายขนาด ทั้งความยาวและความกว้าง
– ตา เป็นโครงสร้างเล็กๆ ที่ยอด หรือที่ซอกใบจะเจริญเป็นกิ่งหรือดอกไม้
– กิ่ง เป็นส่วนที่เจริญแตกออกมาจากลำต้น
– ข้อ เป็นบริเวณลำต้นที่มีใบเห็นรอยต่อเป็นระยะๆ
– ปล้อง เป็นบริเวณลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ 2 ข้อ

รูปร่างของลำต้น

– ลำต้นยึดเกาะ เป็นลำต้นที่อยู่บนดินและมีลักษณะพิเศษคือเป็นเหมือนมือเกาะยึด เช่น บวบ ฟักทอง ตำลึง เป็นต้น
– ลำต้นไหล เป็นลำต้นที่ทอดไปตามพื้น ส่วนของปล้องยาวทอดออกไป ที่บริเวณข้อจะเกิดเป็นราก, ใบ เช่น บัว
– ลำต้นคล้ายใบ ลำต้นจะมีสีเขียวลักษณะคล้ายใบ ทำหน้าที่สร้างอาหาร เช่น สลัดได
– ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหารมีลักษณะอวบอ้วน เช่น มันฝรั่ง แห้ว เผือก และลำต้นใต้ดินบางชนิดอัดซ้อนกันแน่น เช่น หอม กระเทียม
– ลำต้นเป็นเหง้า เป็นลำต้นสะสมอาหารที่มีปล้องและข้อสั้นๆ เช่น ข่า ขิง

                                                                                        ราก

คือ ส่วนประกอบของพืชที่เจริญเติบโตเข้าหาส่วนกลาง เพื่อดูดน้ำ เกลือแร่ และยึดลำต้น  จำแนกตามลักษณะใบเลี้ยงของพืช จำแนกได้ดังนี้
พืชใบเลี้ยงคู่ จะมีรากแก้ว เป็นรากที่งอกออกจากเมล็ด มีลักษณะใหญ่กว่ารากอื่นๆ รากที่แตกออกจากรากแก้ว เรียกว่า รากแขนง และรากฝอย ตามลำดับ เช่น ต้น มะม่วง มะขาม ชมพู่ เงาะ เป็นต้น
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว จะมีเฉพาะรากฝอย ได้แก่พืชจำพวก หญ้า ไผ่ ข้าว ข้าวโพด มะพร้าว เป็นต้น

                    อาจารย์ฟ้าใสได้พานักเรียนออกศึกษานอกสถานที่โดยไปศึกษาที่บ้านไร่ทอฟ้าพอไปถึงบ้านไร่ทอฟ้าอาจารย์ฟ้าใสก็ให้นักเรียนเดินสำรวจดูรอบๆไร่ว่าพบอะไรบ้างพอสำรวจเสร็จก็มีตัวแทนของนักเรียนรายงานผลการสำรวจ นักเรียนคนนี้ชื่อว่า  วาทิศ เขาบอกว่าจากการเดินดูรอบๆไร่แล้วก็พบแต่พืชไร่มากมายหลายชนิด  เช่น มะม่วง  มะละกอ  เป็นต้น  และพืชแต่ละต้นยังมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ  ราก  ลำต้น  ตา  ใบ   ดอก  ผล  เมล็ด  ยังมีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ออกไปถ้านักเรียนเป็นอาจารย์นักเรียนจะอธิบายลักษณะของพืชดังกล่าวว่าเป็นพืชจำพวกใดเพื่อให้ วาทิศเข้าใจ

ภารกิจ

1. จงวิเคราะห์ว่า วาทิศ เข้าใจลักษณะของพืชมากน้อยเพียงใดอธิบาย
2. จากข้อมูลลักษณะของพืชดังที่ วาทิศ ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นพืชจำพวกใด
3. อธิบายแนวทางในการสังเกตพืชดอก